His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s Birthday Ceremony

Friday 2 December 2016

8.20 in the Auditorium

His Majesty King Bhumibol Adulyadej was born in Cambridge, Massachusetts, while his father was a student at Harvard Medical School, and today in Cambridge, still stands the King Bhumibol Adulyadej Square, which commemorates his birth.  In his early years of education, His Majesty King Bhumibol Adulyadej, together with King Anandha Mahidol attended Mater Dei School, a tri-lingual school, where core subjects were taught in French, English and Thai.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา  ในขณะที่พระบรมราชชนกได้ทรงศึกษาวิชาการแพทย์ และทรงสำเร็จวิชา แพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ในปัจจุบันที่เคมบริดจ์จะมีจตุรัสเพื่อรำลึกว่าเป็นสถานที่พระราชสมภพของพระองค์ 

 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเริ่มต้นการศึกษาที่ โรงเรียนมาแตร์ เดอี วิทยาลัย โดยพระองค์ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาอังกฤษ

Following the family’s move to Switzerland, His Majesty King Bhumibol Adulyadej attended Ecole Novelle de la Suisse Romande, which was a school for international students. Today, the school still stands strong, and not only offers the IB, but also works in cooperation with His Majesty’s school, Klai Kangwon, on distance learning provided through satellite television, broadcasted from Huahin. His Majesty King Bhumibol Adulyadej commenced his studies at Lausanne University graduating in Political Science, Law and Languages, with a vision of returning to the Kingdom to ‘rule with righteousness for the benefits and happiness of the Siamese people” the oath he uttered at his Coronation.

พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปประทับที่เมือง โลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ทรงเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล เมียร์มองต์ จากนั้นทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลาซืออิส โรมองด์ ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับนักเรียนนานาชาติ ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ไม่เพียงจะใช้หลักสูตร IB ในการจัดการเรียนการสอน แต่ยังร่วมจัดการศึกษาให้กับโรงเรียนไกลกังวล ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบทางไกลผ่านสัญญานดาวเทียม ครั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งเพื่อทรงศึกษาต่อให้เสร็จสิ้น พระองค์ได้ทรงเลือกเรียนวิชารัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่แต่เดิม เพื่อทรงนำความรู้ด้านนี้กลับมาปกครองประเทศ พร้อมมีพระราชดำรัสที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย”

His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s love of learning, through ‘inquiry’ and ‘hands-on experiments’ in his younger years, turned into ‘life-long learning’, the concept of which he strongly advocated and became the backbone for over 4,000 royal initiated development projects, aimed at resolving ‘local problems’ with significant implications on ‘global issues’. Water play and hand-digging of mud ditches to prove how water flows, turned into nationwide irrigation projects; Experiencing how to prevent land from sliding into his water ditches, lead to his work on sustainable land resource management, for which he was awarded by FAO as ‘The First Humanitarian Soil Scientist’ in 2012; and since then, December 5th has become globally known as ‘World Soil Day’; Observation of his pet monkey’s eating behaviour, instigated his ‘Monkey Cheeks’ water reservoirs to prevent flooding and support farming; His first camera given to him on his 7th birthday, prompted his love for photography as an expression of art but more so as a tool for field research, to document terrain, issues, problems and the quality of life of his people, with a camera around his neck, accompanied by a map and pencil in his hands, as he travelled to every corner of the country; His hobby of toy making and model building sparked his creation of a great number of patented innovations such as the Chaipattana wastewater aerator, and the series of ‘Mod’ sailboats, as sailing was his favorite sport. 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงใส่พระทัยในด้านการศึกษาผ่านการคิดค้น และการทดลองต่างๆเมื่อครั้งทรงยังพระเยาว์ ทำให้พระองค์ทรงมีโครงการในพระราชดำริกว่า 4000 โครงการ และทุกโครงการนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นอยู่ของราษฎรที่ดีขึ้นอันเป็นปัญหาของระดับประเทศ ซึ่งมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับ' ปัญหาโลก ' อาทิเช่น 

ครั้นทรงยังพระเยาว์พระองค์ทรงเล่นน้ำ และทรงขุดคูน้ำด้วยมือเพื่อทรงพิสูจน์การไหลของน้ำ ได้กลายมาเป็นโครงการชลประทานทั่วประเทศ
องค์การอาหาร และการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัล “นักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม” และขอพระบรมราชานุญาตให้วันที่  5 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันดินโลก”

ด้วยทรงสังเกตลักษณะการกินของลิง จึงทรงคิดค้นโครงการแก้มลิงเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร
กล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ที่พระองค์ทรงคล้องไว้ที่พระศอตลอดเวลา เป็นกล้องแรกที่พระองค์ทรงได้รับเมื่อยังทรงพระเยาว์  พระองค์ทรงสนพระทัยในด้านการถ่ายภาพ ทรงใช้เป็นเครื่องมือหลักในการวิจัยภาคสนาม ประกอบกับ แผนที่ และดินสอในพระหัตถ์ ของพระองค์จึงเป็นสิ่งคู่พระวรกายในการเดินทางไปทั่วทุกมุมประเทศ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

จากการใช้เวลาว่างในการประกอบรูปจำลองในวัยเยาว์เป็นสิ่งดลพระทัยให้พระองค์ทรงคิดค้น นวัตกรรมต่างๆ เช่น กังหันน้ำชัยพัฒนา และการประกอบเรือใบของพระองค์เป็นต้น

‘Diversity’ and ‘Communications’ are two other traits of global citizenship. Throughout 70 years on the Throne, His Majesty King Bhumibol Adulyadej has unified the nation with one heart: from ethnic groups in the North to religious groups in the South, from the youth in universities in the country’s major cities to the elderly in remote farming villages, from students in far away schools to soldiers in areas of insurgencies in the ‘60s. His tools were his creations of music, literature and art, his radio station, his satellite television broadcasts and his radio transmissions, but first and foremost, it was His Majesty King Bhumibol Adulyadej himself, his understanding and ‘empathy’ for his people, and his ‘action’ that has touched the lives and hearts of people of all walks of life.  

'ความหลากหลาย' และ 'การสื่อสาร' เป็นอีกสองคุณลักษณะของพลเมืองโลก ตลอด 70 ปีแห่งการครองราชย์ 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงรวมประเทศชาติเข้าเป็นหนึ่งเดียว  ไม่ว่าจะเป็น

กลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือไปยังกลุ่มศาสนาต่างๆ ในภาคใต้ จากเยาวชนในมหาวิทยาลัยของเมืองใหญ่  ไปสู่กลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้านการเกษตร จากนักเรียนในโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ไปยังทหารในเขตพื้นที่ตะเข็บชายแดน      โดยทรงถ่ายทอดความห่วง และใส่พระทัยผ่านเครื่องมือการสื่อสารของพระองค์ อาทิเช่น งานดนตรี งานด้านวรรณกรรม รายการจากสถานีวิทยุ โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และการสื่อสารทางวิทยุส่วนพระองค์ 

His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s ‘global leadership’ in ‘sustainability’ is beyond question. In 2006, the United Nations Development Programme, or UNDP, granted His Majesty King Bhumibol Adulyadej with the first ‘Human Development Lifetime Achievement Award’ for his extraordinary contribution to human development. His ‘Philosophy of Sufficiency Economy’ and his ‘New Theory of Integrated and Sustainable Agricultural System’ was adopted into the ‘United Nations 2030 Agenda for Sustainable Development’ launched in 2015. 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นผู้นำระดับโลกในการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ในปี คศ. 2006 โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้ยกย่อง และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลแด่พระองค์ ธ ผู้ทรงพัฒนามวลมนุษย์ ด้วยหลักการ 'ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง'  'เกษตรทฤษฎีใหม่ในแบบบูรณาการ และระบบการเกษตรที่ยั่งยืนของพระองค์

His Majesty King Bhumibol Adjulyadej is truly the People’s King, beloved by his subjects and revered internationally; and for us, international educators and students, an exemplary leader who truly embodies the values and virtues of Global Citizenship.  

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่รักยิ่งของพสกนิกรชาวไทย ทรงเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนในระดับสากล และสำหรับพวกเรา บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนผู้ซึ่งเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างในการส่งเสริมค่านิยม และคุณธรรมของพลเมืองโลกต่างซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดมิได้

Now, Thailand has a new King.

"Long Live His Majesty King Maha Vajiralongkorn, Thailand's King Rama X"

และในวโรกาสนี้ ปวงข้าาพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายพระพรชัยแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

Related Posts

PCS Meeting

The PCS met for the first meeting of Term 4 on Monday 29th March. It was lovely to see so […]

April 2, 2021

English Language Learning Specialists in Asia (ELLSA) Hosted at Prem!

Last week Prem Tinsulanonda International School hosted an ELLSA jobulike for EAL teachers in Chiang Mai. Representatives from Prem, CMIS, […]

June 10, 2022

A Message from the Junior School Principal

The beginning of the school year brings excitement and a touch of nervousness for everyone within a school community. I […]

August 23, 2019

Hope House Christmas Gift Tree

Dear Community Our annual ‘Hope House Christmas Gift Tree’ provides a Christmas gift to orphans. Please join the event to […]

November 19, 2019